พระแท่นดงรัง สถานที่ปรินิพานของพระพุทธเจ้า

วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

IMG_8753

ตั้งอยู่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีห่างจากตลดท่าเรือประมาณ ๑๐ กม. แต่เดิมตามประกาศของกรมศิลปากร ในราชกิจจานุเบกษาเรื่องการกำหนดเขตโบราณสถานพระแท่นดงรัง เมื่อว้ันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๕๗ “พระแท่นดงรัง” มีเนื้อที่ถึง ๕,๑๕๒ ไร่ ซึ่งน่าจะเป็นป่าดงรังธรรมชาติ ที่กว้างไพศาลที่สุดในโลก สภาพโดยทั่วไปของวัดจึงเป็นป่ารังอยู่บนที่ลาดริมเขาและเชิงเขา ประวัติการสร้างวัดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎชัดว่า สร้างขึ้นเมื่อใด สมัยไหนและใครเป็นผู้สร้าง อาจเป็นไปได้หลายทาง ไม่ว่าประเด็น อาจมีการค้นพบพระแท่นกลางดงรังในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ในยุคที่พบรอยพระพุทธบาทสระบุรี หรืออาจสร้างวัดขึ้นหลังค้นพบพระแท่นดงรัง ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แต่หลักฐานสำคัญยิ่งที่สุด คือโบราณวัตถุ รอยพระพุทธบาท ไม้ประดับมุก ที่มีข้อสรุปด้วยรูปแบบของศิป ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวโรกาสถวายราชสักการะ พระแท่นปรินิพพาน? ซึ่งเชื่อได้ว่าพระแท่นกลางดงรังนี้ จึงน่าจะต้องมีมาก่อนสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
และพระองค์คงทรงตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของพุทธสถานนี้ จึงได้เสร็จมาถวายราชสักการะและทรงโปรดให้สร้างพระพุทธบาทจำลองไม้ประดับมุกถวายเป็นพุทธบูชา ทั้งๆ ที่พุทธสถานแห่งนี้อยู่ในป่าดิบ ริมแดนห่างจากกรุงศรีอยุธยานัก ดังนั้นประเด็นของการวิเคราะห์โบราณสถานแห่งนี้ ในปัจจุบัน จึงกลายมาเป็นว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ว่า
ที่แท้แล้ว พระพุทธองค์ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่พระแท่นปรินิพพานกลางดวงรังแห่งสาลวโนทยาน (หรือวัดพระแท่นดงรัง) ที่กาญจนบุรีจริงๆ

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (๒๓๗๕-๒๓๐๐) ทรงค้นพบพระแทนดงรังในจังหวัดกาญจนบุรี ทรงโปรดฯ ให้ช่างหลวงสร้างพระพุทธบาทจำลอง ไม้แกะสลักประดับมุก ถวายเป็นพุทธบูชาไว้ ณ วิหารพระแท่น แม้ไม่สามารถหาข้อมูลยืนยันปีพ.ศ.ที่แน่นอนได้ แต่สันนิฐานว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการพบรอยพระพุทธบาท (ของแท้) ที่จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๐๔ Sir Alexander Cunningham นายทหารชาวอังกฤษค้นพบสถานที่ซึ่งอ้างว่า เป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานในแคว้นอุตตร ประเทศอินเดีย แต่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นภายหลังพบพระแท่นดงรัง ถึงกว่า ศตวรรษ

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (๒๓๗๕-๒๓๐๐) ทรงค้นพบพระแทนดงรังในจังหวัดกาญจนบุรี ทรงโปรดฯ ให้ช่างหลวงสร้างพระพุทธบาทจำลอง ไม้แกะสลักประดับมุก ถวายเป็นพุทธบูชาไว้ ณ วิหารพระแท่น แม้ไม่สามารถหาข้อมูลยืนยันปีพ.ศ.ที่แน่นอนได้ แต่สันนิฐานว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการพบรอยพระพุทธบาท (ของแท้) ที่จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๐๔ Sir Alexander Cunningham นายทหารชาวอังกฤษค้นพบสถานที่ซึ่งอ้างว่า เป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานในแคว้นอุตตร ประเทศอินเดีย แต่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นภายหลังพบพระแท่นดงรัง ถึงกว่า ศตวรรษ

วิหารพระแท่นดงรัง

“…..องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดา ทรงเสด็จไปที่เมืองกิสินารามหานคร สมเด็จพระชินวรทรงประทับนอนอยู่ระหว่างนางรังทั้งคู่ ตรงนั้นเป็นวิหาร ไม่ใช่ประทับอยู่ที่โคนต้นเฉยๆ เมืองนั้นเขาจัดที่รับพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อยู่ที่ดงรัง…..”

ภาพวิหารพระแท่นดงรังภาพนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าถ่ายไว้เมื่อวันเวลาใด จากสภาพบรรยากาศเข้าใจว่าอาจถ่ายเมื่อวันอังคาร เดือน ๒ ปีฉลู พ.ศ.๒๔๒๐ เมื่อวโรกาสพระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ เสด็จประพาสไทรโยค (๑๓๗ ปีล่วงมาแล้ว) หรืออาจเป็นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ครั้งสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ร.๖ เสด็จฯ ถวายราชสักการะเมื่อ ๑๐๑ ปีก่อน

ในภาพยังคงเห็นหอระฆังอยู่ทั้งซ้ายขวาของบันไดนาค เจดีย์โบราณหน้าวิหาร อุโบสถหลังเก่าด้านขวา กุฎีพระอานนท์ด้านหลังของพระวิหาร ส่วนผนังชั้นนอกของวิหารยังไม่ได้ถูกต่อเติม จึงเห็นชัดเจนว่าประตูเข้าวิหารในปัจจุบันยังคงเป็นแบบดั้งเดิมในภาพ

“…..องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดา ทรงเสด็จไปที่เมืองกิสินารามหานคร สมเด็จพระชินวรทรงประทับนอนอยู่ระหว่างนางรังทั้งคู่ ตรงนั้นเป็นวิหาร ไม่ใช่ประทับอยู่ที่
โคนต้นเฉยๆ เมืองนั้นเขาจัดที่รับพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อยู่ที่ดงรัง…..”
ภาพวิหารพระแท่นดงรังภาพนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าถ่ายไว้เมื่อวันเวลาใด จากสภาพบรรยากาศเข้าใจว่าอาจถ่ายเมื่อวันอังคาร เดือน ๒ ปีฉลู พ.ศ.๒๔๒๐ เมื่อวโรกาสพระ
พุทธเจ้าหลวง ร.๕ เสด็จประพาสไทรโยค (๑๓๗ ปีล่วงมาแล้ว) หรืออาจเป็นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ครั้งสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ร.๖ เสด็จฯ ถวายราชสักการะเมื่อ ๑๐๑ ปีก่อน
ในภาพยังคงเห็นหอระฆังอยู่ทั้งซ้ายขวาของบันไดนาค เจดีย์โบราณหน้าวิหาร อุโบสถหลังเก่าด้านขวา กุฎีพระอานนท์ด้านหลังของพระวิหาร ส่วนผนังชั้นนอกของวิหารยัง
ไม่ได้ถูกต่อเติม จึงเห็นชัดเจนว่าประตูเข้าวิหารในปัจจุบันยังคงเป็นแบบดั้งเดิมในภาพ

IMG_8720 IMG_8714 IMG_8729 IMG_8733 IMG_8707

*”….วิหารที่พระแท่นตั้งอยู่นั้น เป็นเขาเทือกเดียวกันกับเขาถวายพระเพลิง เชิงเขานั้นตกกราบลงมาสูงกว่า
พื้นดินข้างล่างอยู่หน่อยหนึ่ง มาถึงที่พระแท่นจึงเป็นเขาศิลากองยาวออกไป ……. ที่พระแท่นนนั้น
เป็นปลายของเทือกศิลาที่เขานั้นยื่นออกมาก่อนผนังทับ คงเป็นศิลาเป็นแท่งสูงข้างหนึ่ง
ต่ำข้างหนึ่ง ข้างสูงนั้นวัดได้ศอกคืบ ยังมีสูงขึ้นไปอีกเหมือนหนึ่งเป็นหมอน กว้างสักคืบเศษ สูงคืบ ๑
ข้างปลายสูง ๑๖ นิ้ว ยาว ๑๑ ศอกคืบ ข้างบนกว้าง ๔ ศอกเศษ ข้างล่าง ๓ ศอกเศษ
เป็นพื้นขรุขระอยู่ แต่เจ้าของปิดทองคำทำปั้นเป็นบัวรองไว้ พื้นกลางพระแท่นนั้นจะเป็นอย่างไรไม่เห็น….
……… วิหารที่ก่อครอบพระแท่นไว้นั้นเป็นสี่เหลี่ยม ดูข้างในกว้างประมาณ ๔ วา ๒ ศอก
มีเสาสี่เสา ผนังหนาข้างนอกมีเฉลียงรอบ กว้างสัก ๖ ศอก ยาวตลอดสัก  ๗ วา ๒ ศอก
ในโบสถ์แขวนพระบฎต่างๆ ……… พื้นดาด้วยตะกั่ว วิหารนี้เป็นของราษฎรกับพระสงฆ์เข้ากันทำ…..”

* พระราชนิพนธ์ในพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ทรงบรรยายสภาพพระแท่นนดงรัง
และภายในวิหารพระแท่น เมื่อวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมและสมโภชน์พระแท่นดงรัง
ปี พุทธศักราช ๒๔๒๐

พระแท่นกลาง ดงรัง สาลวโนทยาน พระพุทธองค์ทรงองค์ทรงดับขันธปรินิพพานที่นี่?

IMG_8781

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (๒๓๗๕-๒๓๐๐) ทรงค้นพบพระแท่นดงรัง ในจังหวัดกาญจนบุรี ทรงโปรดฯ ให้ช่างหลวงสร้างพระพุทธบาทจำลอง ไม้แกะสลักประดับมุก ถวายเป็นพุทธบูชาไว้ ณ วิหารพระแท่น แม้ไม่สามารถหาข้อมูลยืนยันปีพ.ศ.ที่แน่นอนได้ แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการพบรอยพระพุทธบาท(ของแท้) ที่จังหวัดสระบุรี

พุทธศักราช ๒๔๐๔ Sir Alexdander Cunningham นายทหารชาวอังกฤษค้นพบสถานที่ซึ่งอ้างว่า เป็นที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานในแคว้นอุตตร ประเทศอินเดีย
แต่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นภายหลังการค้นพบพระแท่นดงรัง ถึงกว่าศตวรรษ

การศึกษาธรรมชาติของไม้รัง น่าจะบอกอะไรได้บ้าง?

IMG_8780

IMG_8782

IMG_8783

ต้นรัง
ชื่อวิทยาศาสตร์    Shorea siamensis Miq.
ชื่อวงศ์                  DIPTEROCARPACEAE
ชื่อเรียกอื่น           เปา ฮัง เปาดอกแดง เรียง เรียงพนม ลักป้าว แลบอง
ลักษณะ                เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 20 เมตร
เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนาๆ ไปตามยาวลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปไข่โคนใบหยักเว้าลึก ส่วนปลายใบค่อนข้างข้างมนใบอ่อนแตกแตกใหม่เป็นสีแดง ดอก เป็นช่อ ออกรวมกันเป็นพวงโตเหนือรอยแผลใบตามกิ่งและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองกลิ่นหอมอ่อน จะออกหลังจากใบได้หลุดร่วงไปหมดแล้ว กลีบดอกมี 5 กลีบ เรียงเวียนซ้อนกันเป็นรูปกังหัน ปลายกลีบม้วนซ้อนเข้า
ดอกจะหลุดร่วงง่ายมาก ผล แข็ง รูปกระสวย หรือรูปไข่เล็ก ประกอบด้วยปีสั้น 2 ปีก ปีกยาวรูปใบพาย 3 ปีก อาจยาวถึง 10 ซม. โคนปีกห่อหุ้มตัวผล มีเส้นตามยาวของปีก ตั้งแต่ 7 เส้นขึ้นไป

การกระจายพันธุ์        เป็นไม้ที่ทนทานต่อความแห้งแล้งและไฟป่าได้ดีมาก
พบมากตามป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

ประโยชน์                     เนื้อไม้แข็ง นิยมนำทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแข็งแรง
และรับน้ำหนักมาก เช่น ทำพื้น รอด ตง คาน ทำส่วนประกอบของยานพนะและด้ามเครื่องมือการเกษตรต่างๆ

แหล่งข้อมูล หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1.
ไม้ต้นในสวย Tree in the Garden

ไม้รังพบมากในประเทศไทย พม่า มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย ลาว (ไมมีชื่อประเทศอินเดีย?)

ในปีพุทธชยันตีมีการส่งเสริมการปลูกไม้รังจำนวนมากในเมืองกุสินารา เพื่อให้สอดคล้องกับการเสด็จสู่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าในป่าดงรัง?

IMG_8745

บ่อบ้วนพระโอษฐ์

บ่อบ้วนพระโอษฐ์

บ่อบ้วนพระโอษฐ์

IMG_8764 IMG_8763

บ่อบ้วนพระโอษฐ์
ด้านหลังของวิหารพระแท่น มีเทือกเขาเตี้ยๆ ทอดไปทางทิศเหนือ เป็นมอหินแกรนิต อยู่ท่ามกลางดงไม้นานาพันธุ์ มีโพรงหินเล็กๆ ปากโพรงกว้างประมาณ ๑๕ ซ.ม. ลึกประมาณ ๗๕ ซ.ม. เชื่อกันว่าเป็นที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอาเจียน ลงพระโลหิต ขณะทรงพระประชวร ก่อนเสด็จสู่มหาปรินิพพาน

ปัจจุบันที่บริเวณนี้ ทางวัดได้จัดทำน้ำตกจำลองเล็กๆ ชื่อน้ำตกมัลละกษัตริย์ อยู่ข้างบ่อบ้วนพระโอษฐ์ ทำให้บรรยากาศร่มรื่น เย็นสบายยิ่งขึ้นในทุกฤดูกาล

พระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชนิพนธ์ไว้ คราวเสด็จพระราชดำเนินวัดพระแท่นดงรัง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ ดังนี้………

“…..มาถึงที่พระแท่นจึงเป็นเขาศิลากองยาวออกไป
ที่ข้างหลังวิหาร มีช่องศิลา ยาวประมาณ ๖ นิ้ว
กว้าง ๔ นิ้วหยั่งดูฤกสัก ๒ ศอก
ว่าเป็นที่บ้วนพระโอษฐพระพุทธเจ้า…………..

……….. เรื่องหนึ่งว่าน้ำบ้วนพระโอษฐนั้น ถ้าตาแดง
หยอดตาหาย……………”

เรื่องนี้ถูกเขียนใน พุทธประวัติ, พุทธประวัติในประเทศไทย และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น